วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

  ความรู้ทั่วไปของหางนกยูง
 ปลาหางนกยูง มีชื่อสามัญว่า  Guppy  or  Millions  Fish  or  Live-bearing  Tooth-carp เป็นปลาสวยงามน้ำจืดชนิดหนึ่งที่จัดว่าเป็นปลาติดตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว   ถึงแม้ว่าจะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่มีความสวยงามและว่ายน้ำอยู่เสมอ ทำให้เป็นที่ต้องตาของผู้เลี้ยงโดยทั่วไป จึงมักจำหน่ายได้ง่ายและจำหน่ายได้ดีตลอดปี ปัจจุบันนิยมเลี้ยงกันมากในตู้กระจก  ภาชนะ  หรือบ่อเลี้ยงปลาภายนอกอาคาร ซึ่งถ้าเป็นบ่อเลี้ยงปลาภายนอกอาคารมักเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงพรรณไม้น้ำ  เช่น ในกระถางบัว อ่างเลี้ยงสาหร่าย

3 ลักษณะรูปร่างของปลาหางนกยูง                   
  ปลาหางนกยูงจัดว่าเป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ปลาตัวผู้มีขนาด 3 - 5 เซนติเมตร ส่วนตัวเมียมีขนาด 5 - 7 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามหลายสีแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ โดยเฉพาะที่ส่วนหางจะมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ และเฉพาะปลาเพศผู้จะมีครีบหางยาวและสีสันเด่นสะดุดตา  



ภาพที่ 1  แสดงลักษณะภายนอกของปลาหางนกยูง
ที่มา : ดัดแปลงจาก Pop 1968 (2009)     
     
ปลาหางนกยูงตัวผู้

ปลาหางนกยูงตัวผู้รูปร่างจะผอมเพรียวท้องแฟบครีบเล็กที่ตัวจะมีลายหรือสีหางจะบานลายชัดสีสดงดงามกว่าตัวเมียมาก 


ปลาหางนกยูงตัวเมีย

ปลาหางนกยูงตัวเมียรูปร่างจะอ้วนพองท้องใหญ่แต่ถ้ามันท้องท้องมันจะใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก ครีบจะใหญ่ สีสันของตัวเมียจะไม่ค่อยสวยเท่าไหร่นักหางจะไม่สวยสะดุดตาเหมือนตัวผู้





การวางไข่พันธุ์ปลาหางนกยูง


              ปลาหางนกยูงจัดว่าเป็นปลาที่สังเกตเพศได้ง่ายมาก ลักษณะความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้และเพศเมีย คือ ปลาเพศผู้มีลวดลาย สีสันเด่นชัด และสดสวยกว่า โดยทั่วไปหางมีขนาดใหญ่กว่าส่วนของลำตัว ครีบยื่นยาวกว่า และปลาเพศเมียมีอวัยวะเพศ (gonopodium)ยื่นยาวออกจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและโดยธรรมชาติ ปลาตัวผู้ว่ายไล่รัดปลาตัวเมียอยู่ตลอดเวลา การผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ ปลาเพศผู้ใช้อวัยวะเพศสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศเมีย เพื่อปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ในรังไข่ของปลาตัวเมีย และน้ำเชื้อนี้อยู่ติดค้างในรังไข่ของปลาตัวเมียได้นานถึง 6-7 เดือน เมื่อปลาตัวเมียออกลูกไปแล้วคอกหนึ่ง ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน ปลาตัวเมียก็สามารถให้ลูกได้อีกโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวผู้มาผสมพันธุ์เหมือนครั้งแรก โดยปกติปลาชนิดนี้ให้ลูกปลาทุก ๆ หนึ่งเดือน ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว วิธีการเพาะพันธุ์ค่อนข้างง่ายเพียงปล่อยปลาให้ตัวผู้ และตัวเมียอยู่ด้วยกันไม่ช้าปลาก็ให้ลูกได้ สังเกตเมื่อแม่ปลาใกล้ออกลูก คือ แม่ปลาท้องอูมเป่งมาก และที่ท้องมีปานดำปรากฏให้เห็น และช่วงนี้ปลาว่ายช้าลง ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่กินลูกตัวเอง ดังนั้นหลังจากที่ปลาออกลูกแล้วควรรีบแยกพ่อ และแม่ปลาออก และหลังจากที่แม่ปลาออกลูกเสร็จแล้วควรแยกแม่ปลาไว้ต่างหากเพื่อเป็นการพักฟื้นเนื่องจากปลาตัวเมียอ่อนเพลีย หากรวมกับปลาตัวอื่นอาจถูกรังแกจนถึงตายได้ หลังจากที่ทำการพักจนแม่ปลาแข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้วจึงค่อยย้ายไปเลี้ยงรวมกับปลาตัวอื่นได้


ที่มา
http://www.youtube.com/watch?v=-3lhqI3IFMo
http://www.thaiguppy.com/index.php
http://www.fisheries.go.th/sfsaraburi/index.phpoption=com_content&view=article&id=88&Itemid=171




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น